วันพฤหัสบดีที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ชนิดและรูปแบบไฟล์กราฟิก





ไฟล์กราฟิกมีรูปแบบอยู่ 3 ไฟล์ คือ 1.ไฟล์สกุล GIF (Graphics Interlace File) เป็นไฟล์กราฟิกมาตรฐาน จะใช้เมื่อต้องการไฟล์ที่มีขนาดเล็ก จำนวนสีและความละเอียดของภาพไม่สูง ต้องการพื้นแบบโปร่งใส ต้องการแสดงผลแบบโครงร่างก่อน แล้วค่อยแสดงผลแบบละเอียด ต้องการนำเสนอภาพแบบภาพเคลื่อนไหว
จุดเด่น มีขนาดไฟล์ต่ำ สามารถทำพื้นของภาพให้เป็นพื้นแบบโปร่งใสได้ มีระบบแสดงผลแบบหยาบและค่อยๆ ขยายไปสู่ละเอียด เรียกดูได้กับ Graphics Browser ทุกตัว ความสามารถด้านการนำเสนอแบบภาพเคลื่อนไหว ( Gif Animation)
จุดด้อย แสดงสีได้เพียง 256 สี ไฟล์ .GIF มี 2 สกุล ได้แก่ GIF87 เป็นไฟล์ที่มีขนาดเล็กและแสดงผลสีได้เพียง 256 สี และกำหนดให้แสดงผลแบบโครงร่างได้ ,GIF89A ซึ่งเป็นไฟล์กราฟิกที่มีความสามารถพิเศษโดยนำเอาไฟล์ภาพหลายไฟล์มารวมกันและนำเสนอภาพโดยอาศัยการหน่วงเวลา มีการใส่รูปแบบการนำเสนอในลักษณะภาพเคลื่อนไหว


2.ไฟล์สกุล JPG (Joint Photographer’s Experts Group) เป็นไฟล์ที่นิยมใช้บน Internet ใช้กรณี ภาพที่ต้องการนำเสนอมีความละเอียดสูง และใช้สีจำนวนมาก จะใช้กับภาพถ่ายที่นำมาสแกนและต้องการนำไปใช้บนอินเทอร์เน็ต เพราะให้ความคมชัดและความละเอียดของภาพสูง
จุดเด่น สนับสนุนสีได้ ถึง 24 bit สามารถกำหนดค่าการบีบไฟล์ มีระบบแสดงผลแบบหยาบ ขยายไปสู่ละเอียดในระบบ Progressive เรียกดูได้กับ Graphics Browser ทุกตัว ตั้งค่าการบีบไฟล์ได้
จุดด้อย ทำให้พื้นของรูปโปร่งใสไม่ได้ กำหนดค่าการบีบไฟล์ไว้สูง ( 1 - 10) เมื่อมีการส่งภาพจาก Server ไปแสดงผลที่ Client จะทำให้การแสดงผลช้ามาก เพราะต้องเสียเวลาในการคลายไฟล์


3.ไฟล์สกุล PNG (Portable Network Graphics)


จุดเด่น สนับสนุนสีได้ถึงตามค่า True color สามารถกำหนดค่าการบีบไฟล์ได้ มีระบบแสดงผลแบบหยาบ ขยายไปสู่ละเอียด สามารถทำพื้นโปร่งใสได้
จุดด้อย หากกำหนดค่าการบีบไฟล์ไว้สูง จะใช้เวลาในการคลายไฟล์สูงตามไปด้วย แต่ขนาดของไฟล์จะมีขนาดต่ำ ไม่สนับสนุนกับ Graphic Browser รุ่นเก่า ความละเอียดของภาพและจำนวนสีขึ้นอยู่กับ Video Card โปรแกรมสนับสนุนในการสร้างมีน้อย







ไฟล์กราฟิก มี 2 ชนิด คือ


1.กราฟิกแบบ Bitmap เป็นภาพแบบ Resolution Dependent ประกอบ ขึ้นด้วยจุดสีต่างๆที่มีจำนวนคงที่ตายตัวตามการสร้างภาพที่มี Resolution หรือความละเอียดของภาพต่างกันไป หากขยายภาพ Bitmap จะเห็นว่ามีลักษณะเป็นตารางเล็กๆ ซึ่งแต่ละบิตคือส่วนหนึ่งของข้อมูลคอมพิวเตอร์
ภาพแบบ Bitmap เหมาะสำหรับงานกราฟิกที่ให้แสงเงาในรายละเอียด เป็นไฟล์ที่เหมาะกับการทำงานกับภาพเหมือนจริงประเภทภาพถ่าย เพราะ Bitmap มี Channel พิเศษ เรียกว่า Alpha Channel ซึ่งเป็น 32 bit คือสีสมจริง


ไฟล์ภาพแบบ Bitmap ในระบบวินโดวส์คือ ไฟล์ที่มีนามสกุล .BMP, .PCX. , .TIF, .GIF, .JPG, .MSP, .PCD สำหรับโปรแกรมที่ใช้สร้างกราฟิกแบบนี้คือ Paintbrush, PhotoShop, Photostyler
2.กราฟิกแบบ Vectorเป็นภาพประเภท Resolution-Independent มี ลักษณะของการสร้างให้แต่ละส่วนเป็นอิสระต่อกัน โดยแยกชิ้นส่วนของภาพทั้งหมดออกเป็นเส้นตรง รูปทรงหรือส่วน เป็นการรวมเอา Object ต่างชนิดมาผสมกัน มีทิศทางการลากเส้นไปในแนวต่างๆ เพื่อสร้างภาพที่แตกต่างกันโดยใช้คำสั่งง่ายๆ จึงเรียกภาพประเภทนี้ว่า Vector Graphic
ลักษณะเด่นคือ สามารถยืดหรือหดภาพเท่าใดก็ได้ โดยที่ภาพจะไม่แตก ความละเอียดของภาพไม่เปลี่ยนแปลง และไฟล์มีขนาดเล็กกว่าภาพ Bitmap


ไฟล์รูปภาพแบบ Vector ในระบบวินโดวส์คือ ไฟล์ที่มีนามสกุล .EPD, .WMF, .CDR, .AI, .CGM, .DRW, .PLT เป็นต้น โดยมีโปรแกรม CorelDraw เป็นโปรแกรมสร้าง


ความแตกต่างระหว่างกราฟิกแบบ Bitmap และ Vector

Bitmap
1. ลักษณะภาพประกอบขึ้นด้วยจุดต่างๆ มากมาย
2. ภาพมีจำนวนพิกเซลคงที่จึงต้องการค่าความละเอียดมากขึ้นเมื่อขยายภาพ โดยจะคำนวณค่าสีทีละ pixels ทำให้ภาพแตกเมื่อขยายภาพให้ใหญ่
3. เหมาะสำหรับงานกราฟิก ในแบบต้องการให้แสงเงาในรายละเอียด
Vector
1. ใช้สมการทางคณิตศาสตร์เป็นตัวสร้างภาพ โดยรวมเอา Objectต่างชนิดมาผสมกัน
2. สามารถย่อและขยายขนาดได้มากกว่า โดยสัดส่วนและลักษณะของภาพยังเหมือนเดิม ความละเอียดของภาพไม่เปลี่ยนแปลง

ที่มา : http://por2228.exteen.com/20111026/entry-8

ความหมายของกราฟิก

กราฟฟิก (Graphic) มาจากภาษากรีก 2 คำคือ Graphikos หมายถึง การวาดเขียน  Graphein หมายถึง การเขียน ซึ่งโดยรวมๆแล้วมีความหมาย หมายถึง ศิลปะแขนงหนึ่งซึ่งใช้สื่อความหมายด้วยเส้น สัญลักษณ์ รูปวาด ภาพถ่าย กราฟ แผนภูมิ การ์ตูน ฯลฯ เพื่อให้สามารถสื่อความหมายข้อมูลได้ถูกต้องตรงตามที่ผู้สื่อสารต้องการซึ่งกราฟิกประกอบด้วยภาพบิตแมพ (Bitmap) ภาพเวกเตอร์ (Vector) คลิปอาร์ต (Clipart) และHyperPicture

บทบาทและความสำคัญของงานกราฟิก

ปัจจุบันบทบาทและความสำคัญของกราฟิกนั่นมีความสำคัญมาก และมีความสำคัญในหลายๆเรื่อง เช่น1.ความเจริญก้าวหน้าทางวิชาการ  2.ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี 3.จำนวนประชากรโลกที่เพิ่มขึ้น และความเป็นโลกไร้พรมแดน 4. ความแตกต่างระว่างบุคคล 

ประวัติความเป็นมาของกราฟิก

ประวัติความเป็นมาตามหลักฐานในอดีตเมื่อมนุษย์เริ่มรู้จักการขีดเขียน ขูดต่อมาประมาณ 9000 ปี ก่อนคริสต์กาล ชาว Sumerien ในแคว้นเมโสโปเตเมียได้เริ่มเขียนตัวอักษรรูปลิ่ม  ต่อมาในปี ค.ศ.1950 การออกแบบได้ชื่อว่าเป็น Typographical Styleเป็นการพัฒนาโดยนักออกแบบชาวสวิส ได้นำวิธีการจัดวางตัวอักษรข้อความและภาพเป็นคอลัมภ์มีการใช้ตารางช่วยให้อ่านง่ายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา การออกแบบกราฟิกได้พัฒนาและขยายขอบเขตงานออกไปอย่างกว้างขวาง ไม่จำกัดปัจจุบันงานคอมพิวเตอร์กราฟิก จึงเป็นเทคโนโลยีที่เข้ามาเปลี่ยนรูปแบบการออกแบบและสร้างสรรค์งานกราฟิกอย่างกว้างขวาง

การประยุกต์ใช้งานกราฟิก

คอมพิวเตอร์กราฟิกกับการประยุกต์ใช้งานด้านการออกแบบ ซึ่งเมื่อเห็นคำว่า การออกแบบแน่นอนสำหรับคนที่ต้องการคอมพิวเตอร์เพื่อใช้งานด้านนี้ย่อมคิดถึงคำว่า CAD(Computer Aided Design)
หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่ช่วยในการออกแบบ ในงานทางด้านวิศวกรรม ประกอบไปด้วย DWG หรือ ภาพประกอบ 2 มิติ (2D) เป็นพื้นฐานหลัก โดยจะต้องทำความเข้าใจในส่วนประกอบดังนี้        
1. DWG (DRAWING) ภาพ - 2D (ภาพ 2 มิติ)            
มาตรฐานการ สื่อของ Drawing
 การมอง Top, Front, Side Views แต่ละมาตรฐาน
Auxiliary Viwes (มุมมองในส่วนที่สำคัญของ DWG โดยทำมุม 900 กับสายตา )
            3D (ภาพ 3 มิติ)
        2. MODELING COMMAND
            
Wire Frame Command (ตามมาตรฐานที่ใช้อ้างอิงกับ Software ส่วนใหญ่)
            
Surface and Solid Command (ตามมาตรฐานที่ใช้อ้างอิงกับ Software ส่วนใหญ่)
            
Other Edit (ตามมาตรฐานที่ใช้อ้างอิงกับ Software ส่วนใหญ่) Cad/Cam
3. การใช้คำสั่งประกอบการปฏิบัติงานจริง
            
ทำความเข้าใจกับลำดับขั้นตอน การจัดการของ 2D และ 3D
            
การตัดสินใจเลือก Surface Command และ Solid Command
            
การประยุกต์การทำงาน ให้เข้ากับบุคลิกส่วนตัว Concept

การออกแบบงานกราฟิกสำหรับเว็บ มีทั้งการนำภาพที่มีอยู่แล้วมาปรับแต่ง และการเริ่มต้นสร้างงานใหม่ โดยแต่ละรูปแบบมีลำดับการทำงานที่แตกต่างกันเล็กน้อย เพื่อให้ได้ชิ้นงานที่เหมาะสมต่อการนำเสนอบนเว็บที่สองค์ประกอบของกราฟิก
การจัดองค์ประกอบของงานกราฟิก
1.จัดให้เป็นเอกภาพ ในที่นี้หมายถึง สิ่งที่ช่วยทำให้ชิ้นงานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ซึ้งต้องขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์นั้นๆ ความเป็นเอกภาพจะครอบคลุมถึงเรื่องของความคิดและการออกแบบ
2.
ความสมดุล ความสมดุลในงานกราฟิกเป็นเรื่องของความงาม ความน่าสนใจ เป็นการจัดสมดุลกันทั้งในด้านรูปแบบและสี มีอยู่ 2 ลักษณะที่สำคัญ
3.
การจัดให้มีจุดสนใจ ภายในเนื้อหาที่จำกัดจะต้องมีการเน้น การเน้นจะเป็น ณ จุดใดจุดหนึ่งที่เห็นว่ามีความสำคัญ อาจทำได้ด้วยภาพหรือข้อความก็ได้ โดยมีหลักว่า ความคิดเดียวและจุดสนใจเดียวการ มีหลายความคิด หรือมีจุดสนใจหลายจุด จะทำให้การออกแบบเกิดความล้มเหลวเพราะหาจุดเด่นชัดไม่ได้ ภาพรวมจะไม่ชัดเจน ขาดเอกลักษณ์ของความเป็นผู้นำในตัวชิ้นงาน

ที่มา :  http://wipaporn99.multiply.com/journal/item/15/15

สีและแสงที่ใช้ในงานกราฟิก

องค์ประกอบอีกส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้งานออกแบบนั้นมีความสวยงาม และมีคุณค่าเป็นที่น่าสนใจคืองานกราฟิกที่มีสีเป็นส่วนประกอบในงานนั้นๆ สีในงานคอมพิวเตอร์กราฟิกจะไม่เหมือนกับสีที่เราเห็นโดยทั่วไปความแตกต่างกันตรงนี้เป็นหัวใจสำคัญ ที่ทำให้งานของเราที่ออกแบบไว้ที่เห็นบนจอภาพของคอมพิวเตอร์กับภาพที่เห็นจากการพิมพ์แตกต่างกัน      สำหรับสีในงานคอมพิวเตอร์กราฟิก มีรูปแบบการให้แสงและการสะท้อนแสงซึ่งมี2 วิธีดังที่ได้เรียนในเรื่องระบบของสีนั้น เราพอจะอธิบายถึงระบบสีที่เกิดขึ้นในคอมพิวเตอร์ได้คือ ระบบสี Additiveและ ระบบสี Subtractive สีจากจอภาพของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์สร้างสีโดยการ เปล่งแสงออกมาจากหลอดภาพโดยตรงและใช้ระบบสี RGB ดังนั้น ถ้าเรามองไปที่จอคอมพิวเตอร์ ใกล้มากๆในขณะที่เปิดอยู่จะเห็นจอคอมพิวเตอร์ประกอบไปด้วยจุดเล็กๆของสีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน        

ที่มา : http://gpd-work.blogspot.com/2011/10/blog-post_6426.html

ประเภทของภาพกราฟิก

ภาพราสเตอร์ (Raster )
               หรือเรียกว่าภาพแบบ Bitmap ก็ได้ เป็นภาพที่เกิดจากการเรียงตัวกันของจุดสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ หลากหลายสี ซึ่งเรียกจุดสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ นี้ว่าพิกเซล (pixels)  ถ้ากำหนดจำนวนพิกเซลให้กับภาพน้อย เวลาขยายภาพให้ใหญ่ขึ้น จะมองเห็นภาพเป็นจุดสี่เหลี่ยมเล็กๆ
นามสกุลที่ใช้เก็บ    
 JPG, JPEG, JPE,.GIF ใช้สำหรับรูปภาพทั่วไป งานเว็บเพจ และงานที่มีความจำกัดด้านพื้นที่หน่วยความจำ
.TIFF , TIF เหมาะสำหรับงานด้านนิตยสาร เพราะมีความละเอียดของภาพสูง
.BMP , DIB ไฟล์มาตรฐานของระบบปฏิบัติการวินโดว์
ภาพแบบ Vector
               เป็นภาพที่เกิดจากการอ้างอิงความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์ หรือการคำนวณ ซึ่งภาพจะมีความเป็นอิสระต่อกัน โดยแยกชิ้นส่วนของภาพทั้งหมดออกเป็นเส้นตรง เส้นโค้ง รูปทรง เมื่อมีการขยายภาพความละเอียดของภาพไม่ลดลง แฟ้มภาพมีขนาดเล็กกว่าภาพแบบ Raster
      
       ข้อดีของภาพชนิด Vector
       -  นิยมนำไปใช้ในด้านสถาปัตย์ตกแต่งภายในและการออกแบบต่าง ๆ เช่น การออกแบบอาคาร การออกแบบรถยนต์ การสร้างโลโก้ การสร้างการ์ตูน
.AI,.EPS   ใช้สำหรับงานที่ต้องการความละเอียดของภาพมาก เช่น การสร้างการ์ตูน การสร้างโลโก เป็นต้น
WMF ไฟล์มาตรฐานของระบบปฏิบัติการวินโดว์